วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สัปดาห์ที่ 5
วัน จันทร์ ที่ 01 และ วัน พฤหัสบดี  ที่ 04 เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559
วัน จันทร์ ที่ 01  เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559  เวลา 10.30 12.30  น.
เนื้อหาการเรียนรู้
ทฤษฎีที่ 1 ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ และ กีเซลล์
         กีเซลล์ กล่าวถึง ทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำหรับพัฒนาการด้านร่างกายนั้น หมายถึง การที่เด็กแสดงออกในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่นลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโต ของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหวการทำงาน ของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
กีเซลล์ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1.พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว เป็นความสามารถของร่างกาย ที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่างๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด
2.พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่าง ระบบการเคลื่อนไหวและระบบความรู้สึก เช่น การประสานงานระหว่างตากับมือ
3.พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและท่าทางการเคลื่อนไหว
4.พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคล และบุคคลภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง

ทฤษฏีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
         บรูเนอร์ เชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการ ภายในอินทรีย์เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
บรูเนอร์เน้นหลักการ กระบวนการคิด ประกอบด้วยลักษณะ 4 ข้อ คือ
1.แรงจูงใจ
2.โครงสร้าง
3.ลำดับขั้นการต่อเนื่อง
4.การเสริมแรง
บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ ออกเป็น 3 ขั้น คือ
1.ขั้นการกระทำ เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
2.ขั้นคิดจิตนาการหรือสร้างมโนภาพ เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจิตนาการ
3.ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด เด็กเริ่มเข้าใจการเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น

ทฤษฎีที่ 2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นได
เน้นการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยกฎ 3 ประการ
1.กฎแห่งความพร้อม การเรียนรู้จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีความพร้อมทั้งทางกายและทางใจเกี่ยวกับร่างกาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม การใช้กล้ามเนื้อและระบบประสาทให้สัมพันธ์เพื่อเป็นการฝึกทักษะเกี่ยวกับจิตใจ เป็นความพร้อมทางด้านสมองและสติปัญญา
2.กฎแห่งการฝึกหัด เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำซ้ำๆ กันหลายๆครั้ง เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กจะเกิดทักษะในแบบต่างๆซึ่งทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำงานสัมพันธ์กันดี
3.กฎแห่งผล เด็กจะเรียนรู้ได้ดีถ้าผลของการกระทำนั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางที่ดี ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ เกิดทักษะ ทำให้เด็กมีความสนุกสนานและพอใจ
ทฤษฎีของเพียเจต์
       เพียเจต์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสวัสดุต่าง ๆ จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะกับเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการเรียนรู้ เป็นสื่อการกระตุ้นของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสการเคลื่อนไหวและสัมผัสต่างๆ

ทฤษฎีที่ 3 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด
       กิลฟอร์ด กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกลหลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกอนัย ซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น ความคิดละเอียดละออ
กิลฟอร์ดได้ให้รายละเอียดขององค์ประกอบของความคิดสร้าง ไว้ดังนี้
1.ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกัน กับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากความคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็นหรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่
2.ความคิดคล่องแคล่ว หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
             2.1 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำเป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
             2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
             2.2 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยชน์กล่าว คือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยชน์ที่ต้องการ
             2.3 ความคล่องแคล่วในการคิด เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด
3.ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
            3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนมีความคิดสร้างสรรค์จะทำได้ทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
           3.2 ความยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลงหมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้หรือประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน
4.ความคิดละเอียดละออ หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็ฯขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่งขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
อี พอล ทอร์แรนซ์ นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งบกพร่องขาดหายไปแล้ว รวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น 
ทอร์แรนซ์ มีกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
1.การพบความจริง
2.การค้นพบปัญหา
3.การตั้งสมมติฐาน
4.การแก้ปัญหา
5.ยอมรับผลจากการค้นพบ
ขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1.เริ่มคิด
2.ขั้นขรุ่นคิด
3.ขั้นเกิดความคิด
4.ขั้นปรับปรุง

ทฤษฎีที่ 4 ทฤษฎีด้านสังคม
ทฤษฎีของอิริคสัน
อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ดังนี้
1.ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ ซึ่งเป็นขั้นวัยทารก อิริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป
2.ขั้นความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ-ความสงสัยไม่แน่ใจในตนเอง อยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปี วันนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตขอร่างกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระพึ่งตนเอง และมีความอยากรู้อยากเห็น
3.ขั้นการเป็นผู้คิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อิริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากทำอะไรด้วยตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับเด็กวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ
(3 ขั้นนี้เป็นขั้นพัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย)

ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูร่า
        การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่างๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 ประการ ดังนี้
    1.กระบวนการดึงดูดความสนใจ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กสังเกตตัวแบบ และตัวแบบนั้นดึงดูดความสนใจ ที่จะเลียนแบบ ควรเป็นกิจกรรมง่ายๆไม่สลับซับซ้อน
    2.กระบวนการคงไว้ คือกระบวนการบันทึกรหัสเป็นความทรงจำ การที่เด็กจะต้องมีความแม่นยำ ในการบันทึกสิ่งที่ได้ยินเก็บเป็นความทรงจำ
    3.กระบวนการแสดงออก คือการแสดงผลเรียนรู้ด้วยการกระทำคือ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวรูปแบบต่างๆ
   4.กระบวนการจูงใจ คือกระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบที่จะมาจากบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง
          
การนำไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ของนักทฤษฎีแต่ละท่านมาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก  เพื่อช่วยให้ส่งเสริมพัฒนาการของตัวเด็ก

การประเมิน

ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน 
ประเมินเพื่อน
มีความตั้งใจในการนำเสนองานเป็นอย่างดีอย่างดี
ประเมินคุณครู

คุณครูมีการเตรียมความพร้อมในเนื้อหาการสอนได้เป็นอย่าง
วัน พฤหัสบดี  ที่ 04 เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559  เวลา 11.30 14.30  น.
เนื้อหาการเรียนรู้

ปั๊มการเข้าเรียน

เตรียมทำการบริหารสมองก่อนเข้าสู่การทำกิจกรรม

หลังจากบริหารสมองกันเสร็จ ครูให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จากนั่นให้คิดท่าเคลื่อนไหวประกอบจังหวะให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย โดยในกลุ่มจะต้องออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนทุกคน คนละ 2 ท่า 5 คนก็รวมเป็น 10  ท่าต่อกลุ่ม 












เมื่อออกไปนำเสนอท่าออกกำลังกายครบหมดทุกกลุ่มแล้ว ต่อไปคุณครูให้แต่ละคนคิดท่าของตนเองไว้ 3 ท่า แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ทีละคน โดยสมมติให้เพื่อนเป็นเด็กๆแล้วเราเป็นครู เราต้องออกมาอธิบายเป็นขั้นตอนให้เด็กเข้าใจและสามารถทำตามคำสั่งได้ ในขณะที่พูดอธิบายทำกิจกรรมอยู่นั้นจำเป็นมากที่จะต้องยิ้มอยู่เสมอ และอีกอย่างนึ่งที่สำคัญคือเด็กเล็กจะยังไม่รู้จักซ้ายขวาดีนัก ถ้าเราอยู่หน้าเด็กหันหน้าไปทางเด็กให้นึกว่าเราเป็นกระจกให้กับเขา ถ้าหากเรายกแขนซ้าย เราก็บอกว่าแขนขวาเพราะเป็นแขนขวาของเด็กหากหันไปทางเด็กเราอ่านจะงงๆในช่วงแรก แต่ปัญหานี้จะหมดไปในช่วงเด็กโตขึ้นเขาจะรู้จักซ้ายขวาและฝั่งตรงข้ามผู้เป็นกระจกแล้วจึงไม่ต้องพูดสลับกันให้งง แต่เด็กเล็กนั้นสำคัญมาที่จะต้องทำแบบนี้ (ใช้ในกรณีที่เรายืนหันหน้าไปทางเด็ก)





การนำไปประยุกต์ใช้
-ได้รับความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสม
-มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบท่าทางที่ไม่ซ้ำ
-สิ่งที่ควรรู้จากกาสรเป็นครูปฐมวัย นำไปใช้ในการสอน
-คำนึงถึงเด็กเล็กเวลาบอก ซ้าย ขวา รู้วิธีจัดการปัญหาให้ง่ายต่อการสอนให้เด็กเข้าใจ
-มีเทคนิควิธีการที่แปลกใหม่ ในการสอน

การประเมิน

ประเมินตนเอง
มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย อยู่ร่วมและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆได้ดี  ตั้งใจทำกิจกรรม ร่าเริง  สนุกสนาน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมดี และสร้างบรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียนมากขึ้น สนุกกับการเรียน

ประเมินคุณครู
คุณครูเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมอย่างเสมอ เป็นผู้นำที่ดี เป็นกันเอง  ทำให้นักศึกษามีความสนใจในการเรียนและสร้างบรรยากาศในการเรียนได้สนุกและมีความสุขกับสิ่งที่เรียน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น